วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

RFID TECNOLOGY

RFID TECNOLOGY
RFID คืออะไร?
        ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio Frequency Identificationคือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless) ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้


1. ป้าย (Tag, Transponder)
          มาดูที่ส่วนแรกกันเลยนะครับ ป้าย (Tag, Transponder [transceiver-responder]) ดังที่ได้ยกตัวอย่าง ป้าย Tag ที่ติดสินค้ากันขโมย และตั๋วรถไฟฟ้าที่เป็นเหรียญกลมๆ สีดำไปแล้วนะครับ สิ่งเหล่านี้ก็คือ Tag ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ภายในจะประกอบด้วย เสาอากาศ และตัวไมโครชิป ในส่วนของตัวเสาอากาศนั้น จะทำหน้าที่รับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่าง ป้าย (Tag) กับเครื่องอ่าน (Reader) นอกจากนั้นแล้วยังสามารถทำหน้าที่สร้างพลังงานเพื่อป้อนให้กับไมโครชิปได้อีกด้วย

ประเภทของป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID)
            1RFID ชนิด Passive ป้ายชนิดนี้ทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก เพราะภายในบัตรมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เป็นแหล่งพลังงานในตัวอยู่แล้ว ระยะการอ่านข้อมูลได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้นไม่เกิน เมตร (ขึ้นอยู่กับกำลังส่งของเครื่องอ่านและความถี่วิทยุที่ใช้) RFID ประเภทนี้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
                                            ชนิดพวงกุญแจ      ชนิดแคปซูล              ชนิดบัตร
             2RFID ชนิด Active ป้ายชนิดนี้ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก เพื่อจ่ายไฟให้วงจรทำงาน ระยะการอ่านข้อมูลได้ประมาณ 100 เมตร แต่มีข้อเสียคือ ขนาดของป้ายหรือเครื่องอ่านมีขนาดใหญ่ อายุแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานประมาณ 3-ปี
ชนิดบัตรภายในบรรจุแบตเตอรี่ขนาดเล็กไว้

นอกจากนั้นยังสามารถจัดรูปแบบป้าย RFID จากรูปแบบการอ่านเขียน มีอยู่ รูปแบบดังนี้
            1. ป้ายที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงไปได้หลายๆครั้ง (Read-Write) 
            2. ป้ายที่ใช้เขียนได้เพียงครั้งเดียวแต่อ่านได้หลายครั้ง (Write-once Read-many)
            3. ป้ายที่ใช้อ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-only)
2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)
            โดยหน้าที่ของเครื่องอ่านป้ายคือ จะทำการเชื่อมต่อกับป้ายเพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงในป้ายโดยใช้สัญญาณวิทยุ ซึ่งภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศ เพื่อใช้รับ-ส่งสัญญาณภาครับ-ภาคส่งสัญญาณวิทยุวงจรควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล และส่วนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันกับในส่วนของป้าย เครื่องอ่านนั้นจะมีชนิด และลักษณะรูปร่างหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เช่น แบบมือถือแบบติดหนัง จนไปถึงแบบขนาดใหญ่เท่าประตู


     
รูปแบบการอ่านค่า เช่น

คุณสมบัติของต้นแบบชิป RFID
1.       เป็นระบบชี้เฉพาะด้วยความถี่วิทยุบนชิปเดี่ยว
2.       เป็นระบบไร้สัมผัส (Contactless)
3.       ใช้งานในย่านความถี่ 13.56 MHz
4.       มีหน่วยความจำพรอมอนุกรมแบบโปรแกรมได้ครั้งเดียวขนาด 64 บิต
5.       ใช้การเข้ารหัสข้อมูลแบบอินเวอร์สแมนเชสเตอร์ขนาด 70 กิโลบิตต่อวินาที
6.       มีระบบป้องกันการชนกันของข้อมูล (Anti-Collision Feature)
7.       ขนาดได (Die2,270 x 2,620 ตารางไมครอน
8.       กินกำลังไฟ140 ไมโครวัตต์ ที่ 3.โวลต์
9.       ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีซีมอส 0.ไมครอน

การประยุกต์ใช้งาน  RFID
          ระบบการบอกรหัสสัตว์เลี้ยง (Animal identification)
          ระบบทะเบียนประวัติ บัตรประชาชน (e-Citizen)
          ระบบข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล (Health Care)
          ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket)  เช่นบัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้า
          ระบบบัญชีรายการอัตโนมัติ (Automated Inventory)
          ระบบบอกรหัสพนักงาน (Automatic Teller)
          ระบบอนุญาตเข้าออกสำนักงาน (Security Access)
          ใช้แพลตฟอร์มออกแบบ Cadence ED
          ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (Immobilizer)
          ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport)
          ระบบห้องสมุดดิจิทัล (e-Library)
          Smart-Warehouse การจัดการคลังสินค้าการจัดการคลังสินค้ารูปแบบใหม่ที่พร้อมสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยี RFID ช่วยให้การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) ง่ายดายด้วยเครื่องมือช่วยงานต่างๆ 


          Electronic Toll Collection (ETC) ระบบบริหารจัดการระบบจราจร ระบบขนส่ง (Logistic) โดยใช้เทคโนโลยี RFID ซึ่งมีทั้งแบบ Passive Tag และ Active Tag สามารถอ่าน/เขียนข้อมูลลงใน RFID Tag ได้ในระยะไกล ช่วยให้การจัดการเรื่องระบบจราจรและการขนส่งมีข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์สามารถวิเคาะห์สภาพปัญหาระบบการจราจรได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมี RFID Tag สำหรับติดแผ่นป้ายทะเบียน (License Plate Tag) เพื่อรองรับการ Indentify






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น